งานบวช เป็นงานสำคัญในชีวิตลูกผู้ชายที่จะแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบิดามารดา ปู่ย่าตายายและผู้มีพระคุณ เป็นงานบุญที่มักจะมีแขกมาร่วมมาก ตามวัฒนธรรมของคนไทยเจ้าภาพจะต้องต้อนรับด้วยการเลี้ยงอาหารคาว - หวานให้เป็นที่ประทับใจของแขกเหรื่อและจัดขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคลเพื่อความรุ่งเรืองของตัวเจ้าภาพและผู้บวช เช่น ขนมชั้น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ถ้วยฟู ฯลฯ
งานแต่ง คนโบราณจะให้ความสำคัญอย่างมาก วัตถุดิบที่นำมาจัดเลี้ยงจะเลือกสรรเป็นอย่างดี ขนมไทยก็เช่นกัน มักเลือกที่มีชื่อและความหมายดี เป็นสิริมงคลต่อคู่บ่าวสาวส เช่น ขนมกง หมายถึง มีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เปรียบเสมือนให้คู่บ่าวสาวได้ใช้ชีวิตเคียงข้างกันด้วยใจคอที่หนักแน่น มีความรักให้กันตลอดกาลเหมือนกงล้อเกวียน ขนมสามล้อ หมายถึง ให้อยู่ด้วยกันยั่งยืนนาน ไม่แยกจากกัน
ขนมโพรงแสม เปรียบเสมือนเสาบ้านอันเป็นที่พักพิงให้ความมั่นคงกับทั้งคู่ ขนมนมสาว เปรียบเสมือนแสงสว่างนำนำทางการใช้ชีวิต และขนมฝักบัว ที่มีความหมายแสดงความสูงส่งของการใช้ชีวิตสมรส นอกจากนี้ยังใช้ขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคลหลอกหลายชนิด ได้แก่ ขนมสอดไส้ ขนมผิง ขนมชั้น ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง
ประเพณีสงกรานต์ สมัยก่อนเมื่อวันสงกรานต์หรืองานขึ้นปีใหม่ของคนไทย ชาวบ้านจะช่วยกันกวนขนมเปียก ข้าวเหนียวแดง และกะละแม เพื่อเตรียมไว้สำหรับทำบุญและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านเพื่อแสดงน้ำใจไมตรี และถือเป็นโอกาสการอวดฝีมือการทำขนมไปในตัว ในการทำข้าวเหนียวแดงและกะละแมต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันทำจนสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะได้ขนมเพื่อนำไปทำบุญแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันบ้านใกล้เรือนเคียงและคนในชุมชน
เมื่อพูดถึงการกวนกะละแม หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมจึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า กะละแม เคยมีผู้รู้หลายท่านกล่าวไว้ว่า กะละแมเป็นขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เพี้ยนมาจากคำว่า คาราเมล (Calamal) ที่เป็นของเหลวสีน้ำตาล มีความเหนียวและมีรสหวาน บางคนว่ามาจารกภาษามลายู คือเกอะลาไม (Kelamai) หรือเคอะลาไม (Calamai) อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานและบอกต่อๆ กันมาเท่านั้น
ประเพณีสารทไทย ประเพณีนีี้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรและแจกจ่ายขนมที่ชื่อว่า กระยาสารท คำว่าสารทมาจากภาษาบาลี
แปลว่าฤดู อันเป็นช่วงเวลาที่พืชพันธุ์ผลไม้ออกดอกออกผล แสดงถึงความรื่นเริงยินดี งานวันสารทเดือน 10 ของคนไทยฝนภาคใต้นั้นจะมีขยมหวานแตกต่างจากภาคอื่นๆ เช่น
ขนมลา เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเคี่ยวรวมกับน้ำตาลจนข้น แล้วนำมาโรวยเส้นละเอียด คล้ายกับผืนผ้าที่ทอเป็นแผ่น
ขนมพอง ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง นำมาอัดใส่พิมพ์แล้วตากแดดจนแห้งก่อนทอดให้พองฟู
ประเพณีสงกรานต์ สมัยก่อนเมื่อวันสงกรานต์หรืองานขึ้นปีใหม่ของคนไทย ชาวบ้านจะช่วยกันกวนขนมเปียก ข้าวเหนียวแดง และกะละแม เพื่อเตรียมไว้สำหรับทำบุญและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านเพื่อแสดงน้ำใจไมตรี และถือเป็นโอกาสการอวดฝีมือการทำขนมไปในตัว ในการทำข้าวเหนียวแดงและกะละแมต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันทำจนสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะได้ขนมเพื่อนำไปทำบุญแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรี แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันบ้านใกล้เรือนเคียงและคนในชุมชน
เมื่อพูดถึงการกวนกะละแม หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมจึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า กะละแม เคยมีผู้รู้หลายท่านกล่าวไว้ว่า กะละแมเป็นขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เพี้ยนมาจากคำว่า คาราเมล (Calamal) ที่เป็นของเหลวสีน้ำตาล มีความเหนียวและมีรสหวาน บางคนว่ามาจารกภาษามลายู คือเกอะลาไม (Kelamai) หรือเคอะลาไม (Calamai) อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานและบอกต่อๆ กันมาเท่านั้น
ประเพณีสารทไทย ประเพณีนีี้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรและแจกจ่ายขนมที่ชื่อว่า กระยาสารท คำว่าสารทมาจากภาษาบาลี
แปลว่าฤดู อันเป็นช่วงเวลาที่พืชพันธุ์ผลไม้ออกดอกออกผล แสดงถึงความรื่นเริงยินดี งานวันสารทเดือน 10 ของคนไทยฝนภาคใต้นั้นจะมีขยมหวานแตกต่างจากภาคอื่นๆ เช่น
ขนมลา เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าเคี่ยวรวมกับน้ำตาลจนข้น แล้วนำมาโรวยเส้นละเอียด คล้ายกับผืนผ้าที่ทอเป็นแผ่น
ขนมพอง ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง นำมาอัดใส่พิมพ์แล้วตากแดดจนแห้งก่อนทอดให้พองฟู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น